เมนู

โทษแห่งความไม่อดทน 5


1. ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ
2. มีเวรมาก
3. มีโทษมาก
4. ตายโดยความหลงลืมสติ
5. ตายแล้วเข้าถึงอบายภูมิ 4 ภูมิใดภูมิหนึ่ง

คำว่า อกฺขนฺติยา ได้แก่ แห่งความไม่อดทน. คำว่า อปฺปิโย
ได้แก่ ไม่พึงเป็นที่รัก เพราะเป็นสิ่งปฏิกูลในการเห็น ในการฟัง. ชื่อว่า
ไม่เป็นที่ชอบใจ เพราะแม้เมื่อคิดจิตย่อมไม่แนบแน่น. คำว่า เวรพหุโล
ได้แก่ มีเวรมาก. คำว่า วชฺชพหุโล ได้แก่ มีโทษมาก.
ภัยอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยอาชีพอันยังชีวิตให้เป็นไป ชื่อว่า อาชีวก-
ภัย.
อาชีวกภัยนั้น ย่อมมีแก่ผู้ครองเรือนบ้าง แก่ผู้ไม่ครองเรือนบ้าง, ใน
บุคคลเหล่านั้น ผู้ครองเรือน ย่อมกระทำกรรมอันเป็นอกุศลเป็นอันมาก เพราะ
เหตุแห่งอาชีพก่อน และต่อจากนั้นภัยนั้นก็เกิดแก่เขาจนกระทั่งมรณสมัย หรือ
จนกระทั่งนรกปรากฏ. แม้ผู้ไม่ครองเรือนเล่า เมื่อทำอเนสนา คือการแสวงหา
เลี้ยงชีพในทางอันไม่ควรเป็นอันมาก ภัยนั้นย่อมเกิดแก่เขาจนกระทั่งมรณสมัย
หรือนรกปรากฏ นี้ ชื่อว่า อาชีวกภัย. คำว่า อสิโลกภยํ ได้แก่ ภัย คือ
การติเตียน. คำว่า ปริสสารชฺชภยํ ได้แก่ ภัย กล่าวคือ ความกำหนัด
ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้มีบาปอันทำไว้แล้ว และเข้าไปสู่ที่ประชุมแห่งบริษัท นี้

ชื่อว่า ภัยเกิดแก่ความขลาดกลัวเมื่อเข้าสู่ที่ประชุม. ภัยทั้งสองนอกนี้ คือ
มรณภัย อบายภัย ปรากฏชัดแจ้งแล้ว แล.
ในทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ คำว่า ปญฺจหิ กามคุเณหิ ได้แก่ ด้วย
ความผูกพัน อันเป็นส่วนแห่งกามคุณ 5 มีรูปอันเป็นที่ชอบใจเป็นต้น. คำว่า
สมปฺปิโต ได้แก่ ติดแน่นแล้ว แนบเเน่นแล้วด้วยดี. คำว่า สมงฺคีภูโต
ได้แก่ ประกอบแล้ว. คำว่า ปริจาเรติ (แปลว่า ย่อมบำเรอ) ได้แก่ ยัง
อินทรีย์ทั้งหลายให้เป็นไป ให้เป็นไปพร้อม ย่อมน้อมเข้าไปข้างนี้ด้วย ตาม
ความสุขในกามคุณทั้งหลายนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสมาคม ย่อมรื่นรมย์
ย่อมเล่นในกามเหล่านั้น. ก็กามคุณทั้งสองในที่นี้ ท่านประสงค์เอากามคุณอัน
เป็นของมนุษย์ และเป็นของทิพย์. กามคุณอันเป็นของมนุษย์ บัณฑิตพึง
เห็นเช่นกับกามคุณของพระเจ้ามันธาตุราช กามคุณอันเป็นทิพย์ พึงเห็นเช่น
กับกามคุณของเทวราชในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี. ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมกล่าวบุคคลผู้เข้าถึงกามเห็นปานนี้ว่า เป็นผู้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอด
เยี่ยม ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ปรมทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานํ ได้แก่
ทิฏฐธัมมนิพพาน อันยอดเยี่ยม คือ สูงสุด.
ในวาระที่ 2 (ข้อที่ 2) กามทั้งหลาย ที่ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะ
อรรถว่า มีแล้ว กลับไม่มี ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า บีบคั้นและพึง
ทราบว่า ชื่อว่า มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เพราะอรรถว่าละปกติ-
ภาวะ. คำว่า เตสํ วิปริณามญฺญถาภาวา (แปลว่า เพราะความแปรปรวน
เป็นอย่างอื่น) อธิบายว่า เพราะความที่กามเหล่านั้นเป็นอย่างอื่นกล่าวคือ
มีความแปรปรวนไป. โสกะคือความเศร้าโศก ปริเทวะคือความร่ำให้
ทุกขะคือความทุกข์ โทมนัสสะคือความโทมนัส อุปายาสะคือความคับแค้นใจ

ย่อมเกิดขึ้น โดยนัยที่กล่าวไว้ว่า ยมฺปิ เม อโหสิ ตมฺปิ เม นตฺถิ แม้
เราได้มีสิ่งใดแล้ว แม้เราก็กลับไม่มีสิ่งนั้นดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น ความ
เศร้าโศก มีการเผาผลาญภายในเป็นลักษณะ. ความร่ำไห้ มีการบ่นเพ้ออาศัย
ซึ่งความโกรธนั้นเป็นลักษณะ. ทุกข์มีการบีบคั้นกายเป็นลักษณะ โทมนัสมี
การพิฆาตใจเป็นลักษณะ. ความคับแค้นใจมีความเศร้าใจเป็นลักษณะ. คำว่า
วิตกฺกิตํ ได้แก่ วิตกอันเป็นไปด้วยสามารถแห่งการยกขึ้น. คำว่า วิจาริตํ
ได้แก่ วิจารอันเป็นไปด้วยสามารถแห่งการประคอง. คำว่า เอเตน เอตํ
ได้แก่ ปฐมฌานนี้ ย่อมปรากฏราวกะเป็นหนามอันใหญ่ ด้วยวิตกและด้วย
วิจารนี้. คำว่า ปีติคตํ ได้แก่ ปีตินั่นแหละ. คำว่า เจตโส อุพฺพิลาวิตํ
(แปลว่า ความลำพองใจ) ได้แก่ การทำจิตให้เบิกบาน คำว่า เจตโส
อาโภโต
ได้แก่ ออกจากฌานแล้ว ก็มนสิการให้จิตหวนระลึกถึงความสุข.
บ่อย ๆ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้นและ.
ปัญจกนิทเทส จบ

อรรถกถาฉักกนิทเทส


อธิบายมาติกาหมวด 6


บุคคลผู้โกรธแล้ว ย่อมถึงการทะเลาะ การวิวาท การโต้เถียงกัน
ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ หรือว่า บุคคลผู้ยึดถือแต่ความเห็นของตน ก็
ย่อมถึงการทะเลาะ การวิวาท การโต้เถียงกันเพราะความยึดถือแต่ความเห็น
ของตน เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า วิวาทมูล
มีความโกรธ เป็นต้น.